ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

การให้ระดับคะแนน

   

การให้ระดับคะแนน (grading system)
การประเมินผลการเรียนในปัจจุบันนิยมประเมินให้เป็นระดับคะแนนหรือที่เรียกว่าการตัดเกรด ซึ่งการให้ระดับคะแนนมีหลายแบบ เช่น ให้ระดับคะแนนเป็นตัวเลขได้แก่ 4,3,2,1และ 0 หรือให้ระดับคะแนนเป็นตัวอักษร ได้แก่ A,B,C,Dและ E หรือ ก,,,ง และ จ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การให้ระดับคะแนนถ้าแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แล้วแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. การให้คะแนนในระบบอิงเกณฑ์

2. การให้ระดับคะแนนในระบบอิงกลุ่ม

1. การให้ระดับคะแนนในระบบอิงเกณฑ์ คือการให้ระดับคะแนนโดยการนำเอาคะแนนที่ได้จากการวัดไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้แล้วให้ระดับคะแนนไปตามนั้นมี 2 วิธี คือ
1.1แบบตัดสินให้ผ่าน-ไม่ผ่าน เป็นการให้ระดับคะแนนโดยการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ในรูปของคะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ ถ้าผู้เรียนคนใดมีความสามารถถึงเกณฑ์ ก็ได้ระดับคะแนนผ่านส่วนผู้มีความสามารถไม่ถึงเกณฑ์จะได้ระดับคะแนนไม่ผ่าน
1.2แบบใช้เกณฑ์ที่คาดหวังหรือตั้งเกณฑ์ไว้ตายตัว เป็นการกำหนดเกณฑ์ในรูปคะแนนดิบหรือเปอร์เซ็นต์ขึ้นมาก่อน แล้วนำคะแนนของนักเรียนที่ได้จากกการวัดไปเปรียบเทียบ แล้วให้ระดับคะแนนตามนั้นเช่น 80%ขึ้นไปได้ระดับคะแนน A , 70-79% ได้ระดับคะแนนB หรืออาจจะกำหนดว่า 80 คะแนนขึ้นไปได้ระดับคะแนนA , 70-79 คะแนนได้ระดับคะแนน B เป็นต้น
การตัดเกรดโดยวิธีนี้ใช้ในระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2533) พ.ศ. 2533 และระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาพุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)พ.ศ. 2533 ซึ่งกำหนดระดับคะแนนดังนี้


2. การให้ระดับคะแนนในระบบอิงกลุ่ม มีแนวคิดที่ว่าความสามารถของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมีไม่เท่ากันคนที่มีความสามารถสูงและต่ำจะมีน้อย ส่วนคนที่มีความสามารถปานกลางจะมีมาก การให้ระดับคะแนนในระบบนี้จะนำไปเปรียบเทียบกับความสามารถของกลุ่มซึ่งมีวิธีการให้ระดับคะแนนหลายวิธี แต่ที่นิยมมากที่สุด คือแบบใช้คะแนนมาตรฐานทีปกติ(NormalizedT-Score)

แบบใช้คะแนนมาตรฐานทีปกติ (Normalized T-Score) เป็นการให้ระดับคะแนนโดยใช้คะแนนมาตรฐานโดยการเปลี่ยนคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T ปกติ ซึ่งคะแนน Tปกตินี้จะมีการกระจายของคะแนนเป็นโค้งปกติ กล่าวคือถ้าหากมีการกระจายเป็นโค้งเบ้ซ้ายหรือเบ้ขวาอยู่ก็จะปรับให้เป็นโค้งปกติโดยวิธีการที่เรียกว่า การแปลงโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก (area transformation)ซึ่งจะยังรักษาพื้นที่ใต้โค้งและตำแหน่งของคะแนนไว้ตามลำดับอย่างเดิม

วิธีแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐานT ปกติ มีขั้นตอนดังนี้

1. สร้างตารางแจกแจงความถี่ โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย เพื่อทำการลงรอยขีด(tally)

2. หาค่าความถี่ (f) และความถี่สะสม (cf)

3. หาค่า ของแต่ละชั้น โดยค่า cf ที่ต้องการเป็นค่าcf ที่อยู่ก่อนถึงชั้นนั้น (ชั้นที่คะแนนต่ำกว่า)

4. นำค่าไปคูณด้วย ค่าที่ได้คือ ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentilerank = PR)

5. นำค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ได้ในข้อ 4 ไปเทียบเป็นค่าT ปกติ จากตารางสำเร็จรูป ต่อไปนี้






ตาราง9.1การเทียบตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์เป็นคะแนนT ปกติ

หมายเหตุ ค่าคะแนนT ปกติ ตามแนวตั้ง (แถวริมสุดทางซ้ายมือของผู้อ่านคือเลข 1-8) แสดงหลักสิบ ส่วนแนวนอน (แถวบนสุดของตาราง คือเลข 0-9) แสดงหลักหน่วย
ตัวอย่าง 9.3 ในการสอบวิชาการประเมินผลการเรียนมีผู้เข้าสอบ 20 คน ปรากฏผลดังนี้11,12,15,20,18,17,16,16,19,18,15,15,15,13,12,12,17,13,12,14 จงเปลี่ยนให้เป็นคะแนนT ปกติ


วิธีเทียบตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์เป็นคะแนนT ปกติ
1. นำค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่คำนวณได้มาเทียบกับค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่มีอยู่ในตาราง
2. ถ้าหากค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่คำนวณได้ไม่ตรงกับค่าใด ๆ ในตารางให้เลือก
ค่าในตารางที่ใกล้เคียงที่สุดเช่น ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์เท่ากับ 97.5 จะได้คะแนน T ปกติ เท่ากับ 70 เพราะ 97.5 มีค่าใกล้เคียงกับ97.72 มากกว่า 97.13 เป็นต้น
3. การอ่านค่าคะแนน T ปกติโดยดูจากตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ในตารางว่าตรงกับเลข อะไรในแนวตั้ง(ทางซ้ายมือ)ให้เป็นหลักสิบและในแนวนอนตรงกับเลขอะไร ให้เป็นหลักหน่วย เช่นตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์มีค่าเท่ากับ 96.41 จะได้คะแนน Tปกติ เท่ากับ 68 หรือตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์มีค่า99.95 จะได้คะแนน T ปกติ เท่ากับ 83เป็นต้น
วิธีการให้ระดับคะแนนโดยใช้คะแนนมาตรฐานT ปกติ
การให้ระดับคะแนนโดยวิธีนี้จะคำนึงถึงการกระจายของคะแนนในรูปโค้งปกติ (Normal Curve) โดยการเปรียบเทียบกับความสามารถของผู้เรียนภายในกลุ่ม ส่วนจำนวนระดับคะแนนจะมีจำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ประเมินซึ่งวิธีการให้ระดับคะแนน มีดังนี้
1. หาพิสัยของคะแนนมาตรฐาน T ปกติ เช่นจากตัวอย่างการแปลงคะแนนดิบให้ เป็นคะแนน T ปกติ(โจทย์ตัวย่างที่ 9.3) จะได้พิสัยของ T ปกติ เท่ากับ 70-30 = 40
2. เอาจำนวนระดับคะแนนที่ต้องการไปหารพิสัย ผลที่ได้คืออันตรภาคชั้นของคะแนน Tปกติ เช่น ในที่นี้ต้องการระดับคะแนน 4 ระดับคือ A,B,C และ D จะได้อันตรภาคชั้นเท่ากับ40/4 = 10
3. ให้เอาคะแนน T ปกติ 50 เป็นจุดหลักในการพิจารณาแล้วนำค่าอันตรภาคชั้น (คือ 10 ) มาลบ หรือ บวก ตามกรณีแล้วให้ระดับคะแนน
D CB A
คะแนนT ปกติ
4050 60



กรณีที่ต้องการให้ระดับคะแนน 5 ระดับ คือ A,B,C,D และ E ให้เอาจำนวนระดับคะแนนไปหารพิสัย จะได้ 40/5 = 8
คะแนน T ปกติ
E D C B A
3846 50 54 62

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Flow Chat

  

แผนผังงาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Code Program

Code Program
#include < stdio.h >
#include < conio.h >
void main()
{
int score;
printf("Input score=");
scanf("%d",&score);
if(score>=0&&score<=100)
{ if(score>=80)
printf("score grade 4",score);
else if(score>=75)
printf("score grade 3.5",score);
else if(score>=70)
printf("score grade 3",score);
else if(score>=65)
printf("score grade 2.5",score);
else if(score>=60)
printf("score grade 2",score);
else if(score>=55)
printf("score grade 1.5",score);
else if(score>=50)
printf("score grade 1",score);
else
printf("score grade 0",score);
}
else
printf("&d error!!!",score);
getch();
}


ผลการรัน (Ctrl + 2) EditPlus
เมื่อเลือกกด 75




ผลการรัน (Ctrl + 2)
เมื่อเลือกกด 84

ผลการรัน (Ctrl + 2)
เมื่อเลือกกด 64

ผลการรัน (Ctrl + 2)
เมื่อเลือกกดตัวอักษร อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเลข

ก็จะประกาศผล Error!!! ตามคำสั่ง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิคในกลุ่ม

 
1.นางสาวกุศลิน  สุขการณ์  เลขที่ 3  ม. 406
 
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
ทำให้เข้าใจภาษาซีมากขึ้น
 
2.นางสาวจิณห์วรา  สินทับทอง   เลขที่ 4  ม. 406

 
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้ได้รู้วิธีการทำบล็อกและภาษาซีมากขึ้น
                  ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
3.นางสาวฉัตรแก้ว  สมบูรณ์  เลขที่ 6  ม. 406
 
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
                ทำให้เกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
 
4.นางสาวธัญชนก  วิทยา  เลขที่ 11  ม. 406
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
ทำให้ได้เข้าใจการทำบล็อก
5.นางสาวธัญรดี   เพชรหนุน  เลขที่ 12  ม. 406
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
ทำให้รู้วิธีการทำบล็อก
6.นางสาวปิยนุช  บัวคง    เลขที่ 14  ม. 406
 
สิ่งที่ได้รับ: ทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
ทำให้ได้เข้าใจการทำบล็อก
  
 




        ที่ปรึกษา

 
ครูจิรัฎฐ์ พงษ์ทองเมือง
         



 


 
โรงเรียนจูฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
 
(โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค)




  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS